ประวัติความเป็นมา
ไจฟว์ เป็นจังหวะเต้นรำประเภทละตินอเมริกันที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ ลินดี้ (LINDY) อเมริกัน สวิง (AMERICAN SWING) หรือ ร็อค (ROCK) และจิตเตอร์บัค (JITTER BUG)เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักและเรียกจังหวะไจฟว์กันในนามว่า “ ร็อค ” หรือ “ ไจฟว์ร็อค ”
จังหวะไจฟว์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่าจะมีรูปแบบดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ กำเนิดของไจฟว์มีพัฒนาการมาจากจังหวัด จิตเตอร์บัค บูกี้ – วูกี้ (BOOGIE- WOOGIE) และ แจ๊ส (JAZZ) โดยเริ่มในสมัยค้าทาสชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ได้พยายามรวบรวมจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี การดนตรี การเต้นรำ และการรื่นเริงต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในด้านการดนตรีนั้นได้มีการนำดนตรีดั้งเดิมของชาวนิโกรมาดัดแปลงให้เป็นจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ เรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า “ นิโกร แจ๊ส ” และดนตรีใหม่นี้ก็ได้รับความนิยมแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแจ๊สนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นจังหวะบลูส์และวัน – สเต็ป (BLUES AND ONE-STEP)และได้พัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ฟอกซ์ทร็อต
การเต้นรำในจังหวะที่แต่เดิมเรียกว่า จิตเตอร์บัค ซึ่งหมายถึง แมลงเล็ก ๆ ที่มีอาการแตกตื่น ชุลมุน วุ่นวาย นั้นก็เนื่องจากท่วงทำนองเพลงที่เร้าระทึกใจ ได้กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปด้วย การเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง การเหวี่ยงโยน และปลดปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ เมื่อมองดูแล้วจะเหมือนอาการตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว
ต่อมา มิสเตอร์อเล็กซ์ มัวร์ (MR. ALEX MOORE) กับเมอร์ซิเออร์ปิแอร์ (MONSIEUR PIERRE) และ มิสโจเซฟิน แบรดเลย์ (MISS JOSEPHINE BRADLEY) ได้ร่วมกันปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูสุภาพเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม ลีลาการเต้นถูกต้องตามหลักวิชา และลดความรุนแรง เร่งเร้าของการเต้นให้ลดน้อยลง
จนในที่สุดได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตรฐานหนึ่งในห้าของการลีลาศแบบละตินอเมริกัน และเรียกชื่อจังหวะที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า “ ไจฟว์ ” จากการปรับปรุงการเต้นดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในการเต้นออกเป็น 3 รูปแบบ
รูปแบบการเต้นไจว์ฟ
1. BOOGIE-WOOGIE หรือ SINGLE RHYTHM หรือ ร็อค 4
2. JITTERBUG หรือ DOUBLE RHYTHM หรือ ร็อค 6
3. JIVE หรือ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8
ในปัจจุบันการเต้นไจฟว์แบบ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8 ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นทั้งยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและจัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ
ดนตรีและการนับจังหวะ
ไจว์ฟ เป็นดนตรีประเภท 4/4 คือมี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงหนักในจังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม อยู่ตลอดเพลง
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที
นับจังหวะ 1 , 2 , 3 – 4 – 5, 6 – 7 - 8 หรือ เร็ว เร็ว เร็วและเร็ว เร็วและเร็ว โดย ที่ก้าวที่ 1, 2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะ
ลักษณะเฉพาะของจังหวะ
- เอกลักษณ์เฉพาะ –การมีจังหวะจะโคน การออกท่าทาง เตะ และการดีดสบัด
- การเคลื่อนไหว– ไม่คืบไปข้างหน้า มุ่งหน้าไปและมา จากจุดศูนย์กลางของการเคลื่อนไหว
- ห้องดนตรี– 4/4
- ความเร็วของดนตรี – 44 บาร์ต่อนาที ตามกฎ IDSF
- การเน้นจังหวะบนบีทที่ 2 และ 4
- เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน– 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
- หลักพลศาสตร์ ฉับพลัน ตรง และการเคลื่อนไหวที่แผ่วเบา
การจับคู่
มีทั้งการจับคู่แบบปิดของลาตินอเมริกันโดยทั่วไป และแบบอื่นๆ โดยเฉพาะแบบเปิดจะพบบ่อย การจับแบบเปิด เป็นการจับด้วยมือข้างเดียว คือมือซ้ายของผู้ชายจับมือขวาของผู้หญิง ลำตัวอยู่ห่างกันในระยะพองาม ส่วนมือที่อิสระยกขึ้นข้างลำตัวแขนงอเล็กน้อย ในขณะเต้นผู้ชายใช้มือทั้งสองข้างนำคู่เต้นไปในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงจะต้องตอบสนองต่อแรงผลักของผู้ชาย เพื่อให้มีแรงส่งช่วยในการหมุนในบางลวดลาย เช่น ในลวดลายการเต้นอเมริกันสปิน เป็นต้น
ท่าทางการเต้น
การก้าวเท้า: จะให้ฝ่าเท้าลงพื้นก่อน ส้นเท้ายกให้พ้นพื้นเล็กน้อย ในบางลวดลายอาจจะมีการลดส้นเท้าราบลงพื้น บางก้าวก็ไม่มี น้ำหนักตัวตกค่อนไปทางข้างหน้างอเข่าเล็กน้อยตามธรรมชาติ การเคลื่อนไหวสะโพกให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ
แชสเซ่: กลุ่มสเต็ป 3 ก้าว ซึ่งจะมีการใช้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะมีการเต้นไปข้างหน้า ถอยหลัง ไปทางซ้าย ทางขวา รวมทั้งการหมุนตัวก็จะมีการใช้แชสเซ่
ลวดลายการเต้นของจังหวะไจว์ฟ ที่จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป ได้แก่
1. เบสิค อิน ฟอลล์อะเวย์ (Basic In Fallaway)
2. เชนจ์ ออฟ เพลซ ไรท์ ทู เลฟท์ (Chang Of Places Right To Left)
3. เชนจ์ ออฟ เพลช เลฟท์ ทู ไรท์ (Chang Of Places Left To Right)
4. ลิงค์ (Link)
5. วิป (Whip)
6. เชนจ์ ออฟ แฮนด์ บีฮาย แบค (Chang Of Hand Behind Back)
7. อเริกัน สปิน (American Spin)
8. สตอป แอนด์ โก (Stop And Go)
การสื่อความหมายของจังหวะไจว์ฟ
สไตล์สากลของจังหวะนี้ควรแสดงให้เห็นถึงการใช้เท้า เตะและดีดสบัด ขณะที่แบบเก่าดั้งเดิม ใช้ส่วนของร่างกาย (Torso) และส่วนของสะโพกมากกว่า ปัจจุบันในการแข่งขันก็จะเห็นการผสมผสานของการเต้นทั้งสองสไตล์
ข้อควรระวัง
- จังหวะสุดท้าย "ไจว์ฟ" ที่ซึ่งคู่เต้นรำควรแสดง การใช้จังหวะ (Rhythm) ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ชม "จังหวะและก็จังหวะ" ผสมผสานกับความสนุกสนาน และการใช้พลังอย่างสูง การเน้นจังหวะล้วนอยู่ที่ขาทั้งคู่ที่แสดงให้เห็นถึงการ เตะ และการดีดสบัดปลายเท้า
- คู่เต้นรำต่างเอาใจใส่กับการเคลื่อนที่ไปรอบๆเต้นเข้าและเต้นออกรอบจุดศูนย์กลางที่เคลื่อนไหวอยู่ การเต้นลักษณะนี้มือต้องจับ (Hold) กันไว้ ข้าพเจ้าต้องการที่จะเห็นสไตล์การเต้นแบบมาตรฐาน ที่ได้รับอิทธิพลโดยวัฒนธรรมชาวยุโรปอย่างเช่น Rock 'n' Roll มากกว่ารูปแบบการเต้นของไจว์ฟ ที่มีรากเหง้ามาจากอัฟริกา (สวิงค์ )
- การออกแบบท่าเต้นควรสมดุลย์ร่วมกับลีลาที่ผสมผสานกลมกลืนของการเต้น ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการแสดงเดี่ยว ที่ต้องทำให้เกิดผลสะท้อนกลับของผู้ชม การเต้นจังหวะนี้หากมีปฏิกิริยาตอบรับจากผู้ชม จะมีผลทำให้คู่เต้นรำมีกำลังใจยิ่งขึ้น
การเคหพยาบาล
การเคหพยาบาล
การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อมี การเจ็บป่วยหรือในระยะฟักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน
โดยทั่วไปบุคคลส่วนใหญ่เมื่อเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังมักต้องการรักษาตัวที่บ้านมากกว่าไปอยู่ที่โรงพยาบาลเนื่องจากการรักษาพยาบาลที่บ้านมีความสะดวกสบาย และอบอุ่นจากการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน และมีอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจรักษาจริง ๆ จึงจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านผู้ให้การพยาบาลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และรู้จักดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามสมควรและช่วยให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น
.
ประโยชน์ของการเคหพยาบาล
1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและของทุกคนในครอบครัว และลดความวิตกกังวลทางสภาพจิตใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยได้เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นและสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษาให้มีจำนวนน้อยลง
คำถาม เรื่อง การเคหพยาบาล
1.การเคหพยาบาล หมายถึงข้อใด
ก) การก่อสร้างโรงพยาบาล
ข) การเรียนเพื่อไปประกอบวิชาชีพนางพยาบาล
ค) ได้รับการพยาบาลจากแพทย์ที่โรงพยาบาล
ง) การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัว เพื่อความปลอดภัย และบรรเทาความทุกข์ทรมาน
2. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่แพทย์ หรือนางพยาบาลต้องรู้ก่อนทำการพยาบาลผู้ป่วย
ก) วิธีใช้เครื่องมือรักษาผู้ป่วย
ข) สรรพคุณของยาสามัญประจำบ้าน
ค) ความสวย/ความหล่อของผู้ป่วย
ง) อาการของผู้ป่วย
3. ข้อใดเป็นประโยชน์จากการเคหพยาบาล
ก) ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาล
ข) ได้ความรู้วิชาแคลคูลัส
ค) เพื่อยกเลิก พรบ.นิรโทษกรรม
ง) ทำให้เต้นลีลาศได้ตรงจังหวะ Jive มากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น