จังหวะ ชะ ชะ ช่า (Cha Cha Cha)

ต้นกำเนิดของ ช่ะ ช่ะ ช่า

          ช่ะ ช่ะ ช่า เริ่มในปี ค.ศ. 1950 ขณะที่ดนตรีของคิวบันได้รับความนิยมอยู่ในอังกฤษนั้นได้มีเพลงจังหวะสวิง (Swing) เกิดใหม่และเป็นที่นิยมมาก จังวะสวิงเข้ามามีบทบาทแทรกแซงผสมผสานกับดนตรีของคิวบัน ทำให้เพลงของคิวบันที่เคยมีลักษณะนุ่มนวลเปลี่ยนเป็นเร็วขึ้น สไตล์ของดนตรีที่พัฒนามานี้จึงได้ชื่อว่า “แมมโบ้” รูปแบบการเต้น แมมโบ้พื้นฐานก็คือ ก้าวออกไปข้างหน้า 1 ก้าว แล้วถอยกลับ 2 ก้าว จากนั้นถอยหลัง 1 ก้าว แล้วก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว (ก้าวที่ 2 ย้ำอยู่กับที่) แมมโบ้ได้รับความนิยม ทั้งเพลงและการเต้นอย่างมากในอเมริกาและยุโรป ต่อมาแมมโบ้ได้พัฒนาจากที่เคยเร็วให้ช้าลง และที่เคยเต้นเดินหน้า 3 ก้าวและถอยหลัง 3 ก้าวก็เพิ่มการชิดเท้าไล่กันไปข้างหน้า 2 ก้าว และชิดเท้าไล่กันไปข้างหลัง 2 ก้าว ซึ่งเป็นรูปแบบของ ช่ะ ช่ะ ช่า ในปัจจุบัน
            การเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า นี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ ชื่อ มิสเตอร์เออร์นี่ นักดนตรีของวง “ซีซ่า วาเลสโก” ได้นำการเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า และการเขย่ามาลากัส (ลูกแซ็ก) มาประกอบเพลงเข้าไปด้วย และเป็นที่ประทับใจของบรรดานักเต้นรำและครูสอนลีลาศทั้งหลาย จึงได้ขอให้มิสเตอร์เออร์นี่สอนให้ การเต้น ช่ะ ช่ะ ช่า ตามแบบของมิสเตอร์เออร์นี่จึงถูกถ่ายทอดและมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในภายหลังได้มีการนำรูปแบบการเต้นที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากลเข้ามาแทนที่แล้วก็ตาม


ดนตรีและการนับจังหวะ


          - ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีท่วงทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ และมีจังหวะเน้นเด่นชัดดนตรีจะเป็นแบบ 4/4 เหมือนกับจังหวะคิวบ้ารัมบ้า คือ ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะ
          - การนับจังหวะสามารถนับได้หลายวิธี เช่น หนึ่ง -- สอง – สามสี่ – ห้า หรือ หนึ่ง – สอง ช่ะ ช่ะ ช่า หรือนับก้าวจนครบตามจำนวนลวดลายพื้นฐาน หรือนับตามหลักสากลคือ นับตามจังหวะของดนตรี คือ สอง – สาม – สี่ และ – หนึ่ง โดยที่ก้าวแรกตรงกับจังหวะที่ 2 ของห้องเพลง
          - ดนตรีของจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 32 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 40 ห้องเพลงต่อนาที)
  

การจับคู่


http://hilight.kapook.com/view/71743
          การจับคู่เต้นรำในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า เป็นการจับคู่แบบละตินอเมริกันโดยทั่วไปคือแบบปิด (มือขวาของชายวางบริเวณสะบักของผู้หญิง) การจับคู่นี้ไม่ได้จับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาแต่จะเปลี่ยนไปตามท่าเต้นซึ่งอาจจะต้องจับกันด้วยมือข้างเดียว หรืออาจปล่อยมือที่จับกันอยู่ทั้งสองข้างก็ได้


การก้าวเท้า

          การก้าวเท้าในจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า มีการใช้ฝ่าเท้ามากที่สุด ทั้งการก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลัง จะต้องให้ฝ่าเท้าสัมผัสพื้นก่อนเสมอแล้วจึงราบลงเต็มเท้า และเมื่อมีการก้าวเท้าเข่าจะต้องงอเล็กน้อย หลังจากราบลงเต็มเท้าแล้วเข่าจึงตึง ส่วนเข่าอีกข้างก็จะงอเพื่อเตรียมก้าวต่อไป เมื่อน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าใดส้นเท้านั้นจะต้องลดลง ดังนั้น จึงมีการสับเปลี่ยนการตึงและงอของช่วงขา พร้อมทั้งการลดลงและยกขึ้นของส้นเท้าสลับกันตามลำดับ


ทักษะการเต้นรำจังหวะ ช่ะ ช่ะ ช่า

http://mindworldkl.blogspot.com

1. สแควร์ (Square)

2. การไขว้

3. การหมุน

          สแควร์ (Square) : สแควร์ เป็นการเต้นพื้นฐานที่ประกอบด้วย

การเดิน 10 ก้าว แบ่งเป็นเดินหน้า 5 ก้าวและถอยหลัง 5 ก้าว

          สแควร์ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้

          ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขวา

ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
3
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว
1
5
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว
6
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
8
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว
1
10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว

         
สแควร์ของฝ่ายหญิงประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้
          
ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด และน้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าซ้าย
ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรง
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว
1
5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างเยื้องไปข้างหน้าครึ่งก้าว
6
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา
3
8
ถอยเท้าซ้ายแยกออกข้างเยื้องไปข้างหลังพร้อมกับหมุนตัวไปทางซ้ายเล็กน้อย
4
9
ถอยเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว
1
10
ถอยเท้าซ้ายออกข้างเยื้องไปข้างหลังครึ่งก้าว

การไขว้

การไขว้ของฝ่ายชายประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้ 

ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิด

ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าตรง ๆ พร้อมกับเหยียดแขนซ้ายออกไปเพื่อนำให้ผู้หญิงถอยเท้าขวา
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวา พร้อมกับนำผู้หญิงเดินหน้าด้วยการงอแขนซ้ายทีละน้อยจนจบก้าวที่ 5
3
3
ถอยเท้าซ้ายมาวางข้าง ๆ เท้าขวา ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว
4
4
ก้าวเท้าขวามาชิดซ้าย ยังคงนำผู้หญิงเดินเข้าหาด้านข้างตัว
1
5
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้าง ๆ เตรียมยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
6
ถอยเท้าขวามาข้างหลังตรง ๆ ยกมือซ้ายขึ้นเพื่อนำให้ผู้หญิงหมุนตัวไปทางขวา
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
3
8
ก้าวเท้าขวามาวางข้าง ๆ เท้าซ้าย ยังคงนำผู้หญิงให้หมุนอยู่
4
9
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว
1
10
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้าง ๆ ครึ่งก้าว

          การไขว้ของฝ่ายหญิง ประกอบด้วยการเดิน 10 ก้าว ดังนี้

          ท่าเริ่มต้น : เริ่มต้นด้วยการยืนจับคู่แบบปิดแล้วเต้นสแคว
ร์ 5 ก้าว แล้วทำท่าไขว้

ก้าวที่
การก้าวเท้า
จังหวะ
1
ถอยเท้าขวาไปข้างหลังตรงๆ
2
2
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าซ้าย
3
3
ก้าวเท้าขวามาวางข้างๆ เท้าซ้าย
4
4
ก้าวเท้าซ้ายเข้ามาใกล้เท้าขวาครึ่งก้าว
1
5
ก้าวเท้าขวาแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว
6
ก้าวเท้าซ้ายผ่านหน้าเท้าขวาพร้อม กับหมุนตัวไปทางขวา 1/4 รอบ
2
7
ถ่ายน้ำหนักตัวกลับมาที่เท้าขวาพร้อมกับหมุนตัวมาทางขวา 1/2 รอบ
3
8
ก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายแยกออกข้างๆ พร้อมกับหมุนตัวไปทางขวาอีก 1/4 รอบ
4
9
ก้าวเท้าขวาเข้ามาใกล้เท้าซ้ายครึ่งก้าว
1
10
ก้าวเท้าซ้ายแยกออกข้างๆ ครึ่งก้าว

          การหมุน การหมุนเป็นการเต้นรำที่มีการปล่อยมือออกจากคู่หมุนตัวอยู่กับที่ 1 รอบ ไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ โดยใช้การหมุนตัว 2 ก้าวแล้วชิดเท้าไล่กันอีก 3 ก้าว (แชสเซ่) ไปทางข้างๆ การหมุนจึงมีการเต้นอยู่ 2 แบบ คือ
            หมุนตัวไปทางซ้าย (Spot turn to left)  หมุนตัวไปทางขวา (Spot turn to right) การหมุนนี้จะเต้นพร้อมกันทั้งคู่ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางซ้าย ผู้หญิงจะหมุนตัวไปทางขวา เป็นการหมุนตัวตรงข้ามกัน หรือผลัดกันทำคนละครั้งก็ได้ คือถ้าผู้ชายหมุนตัวไปทางขวาในก้าวที่ 1 – 5 ผู้หญิงจะเต้นไทม์ สเต็ป โดยถอยเท้าขวาไปข้างหลังและผู้ชายเต้นไทม์ สเต็ป ในก้าวที่ 6 – 10 ผู้หญิงจะต้องหมุนตัวไปทางขวาสลับกันไป การหมุนตัวไปทางซ้ายก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น