WALTZ
รูปแบบของจังหวะ วอลซ์
สำหรับบรรดาผู้เข้าแข่งขัน " วอลซ์ " จะเป็นจังหวะแรกเสมอ ที่จะแสดงให้ประจักษ์แก่คณะกรรมการตัดสิน และจะเป็นโอกาสเพียงหนึ่งเดียว ที่จะสร้างความประทับใจเมื่อแรกเห็น (First Impression) ลองคำนึงถึงว่า บ่อยครั้งกรรมการตัดสินจะไม่รู้จักคุณเลย และไม่ทราบว่ามาตรฐานการเต้นรำของคุณอยู่ระดับไหน! เมื่อคู่แข่งขันเริ่มย่างลงสู่ฟลอร์ กรรมการตัดสินและผู้ชม (ให้นึกถึงตัวเอง) จะเริ่มกวาดตาเพื่อมองหาคู่ที่เด่นที่สุด หรือแชมเปี้ยนในทันที ข้อควรคำนึง! ถ้าคุณทำตัวให้ดูเหมือน และประพฤติเฉกเช่นแชมเปี้ยนแล้ว คุณต้องแสดงการเต้นของจังหวะนี้ ให้ดูเหมือนแชมเปี้ยนคนหนึ่ง เพื่อยืนยันในการสร้างความประทับใจเป็นครั้งแรกที่สุด โดยดึงดูดความสนใจของกรรมการ และผู้ร่วมชมมายังคู่ของคุณ ตั้งแต่ย่างก้าวแรกที่ลงสู่ฟลอร์การแข่งขัน บรรดาคู่แข่งขันจำนวนไม่น้อย ที่ประเมินผลกระทบจากการสร้างความประทับใจครั้งแรกต่ำเกินไป จังหวะวอลซ์ ยามฝึกซ้อม หรือการวางแผนการเรียน ให้คิดถึงความสำคัญข้อนี้ด้วย
ต้องคำนึงถึงว่า คู่เต้นรำอื่นๆ อาจเจียดเวลาถึง 40% ของการฝึกซ้อมให้กับจังหวะวอลซ์ และถ้าคุณเป็นหนึ่งในจำนวนนั้นละก็ ถือได้ว่าคุณได้เดินอยู่บนหนทางแห่งความสำเร็จแล้ว
ประวัติของจังหวะ วอลซ์
ช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1914 ฝูงชนได้หลั่งไหลไปที่บอสตันคลับในโรงแรมซาวอย ที่ตั้งอยู่ ณ กลางกรุงลอนดอน เพื่อเต้นรำจังหวะ " บอสตัน วอลซ์ " ซึ่งเป็นต้นแบบของวอลซ์ ที่ใช้ในการแข่งขันปัจจุบัน ใน ปี ค.ศ. 1914 จังหวะบอสตันได้เสื่อมสลายลง เบสิคพื้นฐานได้ถูกเปลี่ยนไปในทิศทางของ " วอลซ์ " หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จังหวะวอลซ์ ได้เริ่มถูกพัฒนาให้ถูกทางขึ้น ด้วยท่าแม่แบบ อย่างเช่น The Natural และ Reverse Turn และ The Closed Change ความก้าวหน้าในการพัฒนาจังหวะ " วอลซ์ " เป็นไปอย่างยืดยาด และเชื่องช้า ผู้ที่ได้ทุ่มเทกับการพัฒนาจังหวะนี้เป็นพิเศษ ต้องยกให้ มิส โจส์เซฟฟิน แบรดลีย์ (Josephine Bradly) วิคเตอร์ ซิลเวสเตอร์ (Victor Silvester) และ แม็กซ์เวลล์ สจ๊วตด์ (Maxwell Steward) และแพ็ทไซด์ (Pat Sykes) แชมป์เปี้ยนคนแรกของชาวอังกฤษ
สถาบันที่ได้สร้างผลงานต่อการพัฒนาท่าแม่แบบต่างๆ ให้มีความเป็นมาตรฐาน คือ "Imperial Society of Teachers of Dancing" (I S T D) ท่าแม่แบบเหล่านี้ บรรดานักแข่งขันยังคงใช้กันอยู่ถึงปัจจุบัน
ลักษณะเฉพาะของจังหวะ วอลซ์
เอกลักษณ์เฉพาะ สวิง และเลื่อนไหล นุ่มนวล และเคลื่อนเป็นวง ซาบซึ้งและเร้าอารมณ์
การเคลื่อนไหว การสวิง ลักษณะแกว่งไกวแบบลูกตุ้มนาฬิกา
ห้องดนตรี 3/4
ความเร็วต่อนาที 30 บาร์ต่อนาที ตามกฎ IDSF
การเน้นจังหวะ บนบีท (Beat) ที่ 1
เวลาที่ใช้ในการแข่งขัน 1 นาทีครึ่ง ถึง 2 นาที
การขึ้นและลง เริ่มยืดขึ้นหลังจบ 1 ขึ้นต่อเนื่องตอน 2 และ 3 หน่วงลดลงหลังจบ 3
หลักพลศาสตร์ ความสมดุลย์ที่ดีสัมพันธ์กับการเลื่อนไหล การใช้น้ำหนัก จังหวะเวลา และการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ
การสื่อความหมายของจังหวะ วอลซ์
ลักษณะท่าทางอย่างหนึ่งที่ต้องมีให้เห็นจากนักแข่งขัน ไม่ว่าจะระดับไหน คือ ลักษณะการแกว่งไกวของลูกตุ้มนาฬิกา เปรียบเทียบได้กับการแกว่งของลูกตุ้มระฆัง จังหวะวอลซ์ต้องมีการสวิงขึ้นและลง ที่มีความสมดุลย์ ในระดับที่ถูกต้อง ด้วยการเคลื่อนไหวที่โล่งอิสระ โครงสร้างของท่าเต้นต้องเป็นแบบที่มีการสวิง โยกย้าย นุ่มนวล เคลื่อนเป็นวง ซึ่งบังเกิดผลให้นักเต้นรำ เคลื่อนที่ไปอย่างเป็นธรรมชาติ และโล่งอิสระ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วง โดยปกติแล้ววอลซ์ ควรประกอบด้วยลวดลายที่สามารถให้แสดงการควบคุม (Control) ที่ยอดเยี่ยม และเปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ในหลายๆ กฎเกณฑ์ ดนตรีจะมีความโรแมนติก ชวนฝัน ละเอียดอ่อน และเปรียบเสมือนสตรีเพศ ซึ่งนี้คือ ข้อที่พึงระมัดระวังถึงของคู่แข่งขันจำนวนมาก เขาต้องปลดปล่อยให้ความรู้สึก ไวต่อการรับรู้ถึงจังหวะ และอัตราความเร็วของดนตรี และการเตรียมพร้อมที่จะเต้นให้แผ่วเบา อย่างมีขอบเขตและอิสระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น